เช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองง่ายๆ สะดวก รู้ผลไว
ผู้วางแผนขอสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ หรือกำลังใช้งานบัตรเครดิตอยู่ ล้วนเคยได้ยินคำว่า “เครดิตบูโร” แน่นอน ถ้าใครเคยเช็คเครดิตบูโร เพราะต้องการเงินด่วน หรือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ก็จะเห็นประวัติการชำระหนี้ยอดหลังรายเดือนที่ถูกแทนค่าด้วยตัวอักษรต่าง ๆ ได้แก่
สถานะ 0 ไม่ค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน
สถานะ 1 ค้างชำระ 31 - 60 วัน
สถานะ 2 ค้างชำระ 61 - 90 วัน
สถานะ 3 ค้างชำระ 91 - 120 วัน
สถานะ 9 ค้างชำระ 271 - 300 วัน
สถานะ F ค้างชำระมากกว่า 300 วัน
แล้วตัวเลข ตัวอักษรเหล่านี้เครดิตบูโรใช้ทำอะไร? เพื่อการพิจารณาปล่อยสินเชื่อหรือไม่? เพราะหลายคนเคยไปขอสินเชื่อแล้วไม่ผ่าน ก็มักจะถูกปฏิเสธจากสถาบันการเงินว่าติดเครดิตบูโร ดังนั้นเราจะพาทุกคนมาหาคำตอบกันว่าเครดิตบูโรเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อจริงไหม และการเช็คเครดิตบูโรยังมีความสำคัญอะไรอีกบ้าง
เครดิตบูโร คืออะไร
ก่อนไปรู้จักว่าเครดิตบูโรคืออะไร? อยากให้ทุกคนลองสวมบทบาทของสถาบันการเงินที่ต้องปล่อยสินเชื่อ ถ้าไม่รู้ว่าลูกหนี้ที่มาขอสินเชื่อกับเราเคยมีประวัติขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่นหรือไม่ หรือเคยผิดนัดชำระหนี้มาหรือเปล่า? ก็เป็นเรื่องยาก ที่จะตัดสินใจปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้รายนั้น
เพราะหากปล่อยสินเชื่อไปแล้ว แล้วชำระเงินคืนไม่ได้ สุดท้ายเกิดหนี้สูญ (NPL) ในกรณีรุนแรง เกิดผิดนัดชำระหนี้พร้อมกันทั่วประเทศ เศรษฐกิจไทย ก็คงแย่ไม่น้อยเลยทีเดียว
คำถามต่อมา คือ แล้วเราจะใช้เกณฑ์อะไรดีในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อแก่ลูกหนี้รายนั้นว่าปล่อยแล้วจะได้เงินคืน ในเมื่อไม่มีข้อมูลอะไรสักอย่างในมือเลย ใช้โหงวเฮ้ง? แผนธุรกิจ? หรือว่าคำพูดของผู้ขอสินเชื่อ? ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่พิสูจน์ได้ยากอีกว่าลูกหนี้รายนั้นมีกำลังจ่ายจริงไหม
เพราะลูกหนี้บางคนถึงขั้นปลอมแปลงสต็อกสินค้า เพื่อให้ผ่านการพิจารณาสินเชื่อ ด้วยเหตุนี้จึงมีการตราพรบ. การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 ขึ้นเป็นครั้งแรก
การมาของพรบ.ดังกล่าว ทำให้เกิดบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือที่เรียกกันติดปากทั่วบ้านทั่วเมืองว่า “เครดิตบูโร” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รวบรวมข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของลูกหนี้จากธนาคารต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ,ที่อยู่, วันเดือนปีเกิด, สถานภาพการสมรส, อาชีพ เลขที่บัตรประชาชน และข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติต่าง ๆ โดยใช้เวลาอัปเดตข้อมูลเครดิตประมาณ 30 วัน และข้อมูลย้อนหลังรายเดือน ก็จะถูกแทนที่ด้วยตัวเลขแสดงสถานะ 0- F ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
หลังจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจัดตั้ง สถาบันการเงินสามารถตรวจประวัติของผู้ขอสินเชื่อย้อนหลังผ่านการเช็คเครดิตบูโร ทำให้ปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ใช่ว่าทางสถาบันการเงินจะเป็นผู้เช็คเครดิตบูโรได้เพียงฝ่ายเดียว เพราะหากคุณอยู่ในฐานะของผู้ขอสินเชื่อ ก็สามารถเช็คเครดิตบูโรด้วยตนเองได้เช่นเดียวกัน
ข้อมูลการชำระหนี้ที่ปรากฏขึ้นในเครดิตบูโร ก็ไม่ใช่หนี้ทุกอย่างนะ เพราะเครดิตบูโรจะเก็บเฉพาะหนี้ เช่น บัตรเครดิต, บัตรกดเงินสด, รถยนต์, บ้าน ฯลฯ หากประวัติเราใสสะอาดไม่เคยค้างชำระเลย จะถูกจัดในหมวดหมู่สถานะบูโร “10” แต่ถ้าพฤติกรรมการเงินเริ่มแย่ เช่น ขอพักหนี้ หรือหนักสุดเป็นหนี้เสีย ตัวเลขหมวดหมู่ก็จะเปลี่ยนแปลงไป ตามที่เครดิตบูโรกำหนด
จะเห็นได้ว่าหน้าที่จริง ๆ ของเครดิตบูโร คือ เป็นผู้รวบรวมประวัติการชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ได้มีหน้าที่ปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นคำกล่าวที่ว่าขอสินเชื่อไม่ผ่าน เพราะติดเครดิตบูโร หรือติด Blacklist จึงไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด เพราะผู้พิจารณาว่าจะปล่อยสินเชื่อแก่คุณหรือไม่ คือ สถาบันการเงินเป็นหลัก
ควรเช็คเครดิตบูโรเมื่อไหร่
หลายคนเข้าใจว่าต้องเช็คเครดิตบูโรก็ต่อเมื่อวางแผนขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เราสามารถเช็คเครดิตบูโรแม้ไม่ได้เป็นหนี้ก็ตาม ซึ่งเราได้รวบรวมเหตุผลที่คุณควรตรวจเครดิตบูโรมาให้แล้ว ดังต่อไปนี้
1. เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการชำระสินเชื่อ
ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นลูกหนี้ชั้นดี ชำระหนี้ตรงเวลา ก็ควรเช็คเครดิตบูโรด้วย เพราะบางครั้งเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินก็อาจกรอกข้อมูลส่วนบุคคลผิดพลาด หรือเผลอไม่นำส่งข้อมูลการชำระสินเชื่อของคุณไปยังเครดิตบูโร ทำให้ประวัติเครดิตบูโรของคุณออกมาไม่ครบถ้วนสมบรูณ์ได้
นอกจากการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ยังเป็นการป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพ แอบอ้างว่าเราติดเครดิตบูโรด้วย ทำให้หากเช็คเครดิตบูโรตั้งแต่เนิ่น ๆ เมื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาหาคุณ โดยอ้างว่าติดหนี้อยู่ ก็จะได้ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป และไม่หลงกลต่อผู้ไม่หวังดีได้ง่าย ๆ
2. เพื่อวางแผนการเงินก่อนสร้างหนี้ใหม่
ปัญหาใหญ่ของผู้มีหนี้หลายก้อน คือ ไม่รู้ว่าจ่ายหนี้ครบหรือยัง เพราะบางคนเป็นทั้งหนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ ฯลฯ แถมขอสินเชื่อก้อนใหม่เพื่อมาโปะหนี้ก้อนเก่าอีก ทำให้หลังจากปิดหนี้ไปแล้ว จากเดิมที่เคยเข้าใจว่าจ่ายหนี้ครบทุกก้อน กลายเป็นว่าจ่ายหนี้ไม่ครบ
การเช็คเครดิตบูโรจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของหนี้ครบทุกก้อนว่ายังมีหนี้ก้อนเก่าค้างอยู่หรือไม่ เพื่อวางแผนขอสินเชื่อก้อนใหม่ได้ง่ายขึ้น
3. เพื่อตรวจสอบโอกาสผ่านการพิจารณาขอสินเชื่อ
การเช็คเครดิตบูโร นอกจากจะตรวจสอบประวัติการชำระสินเชื่อย้อนหลังได้แล้ว ยังสามารถเช็คเครดิตสกอริ่งได้ด้วย ซึ่งเครดิตสกอริ่งเปรียบเสมือนเกรดที่สถาบันการเงินให้แก่ลูกหนี้รายนั้น ๆ ว่ามีพฤติกรรมชำระหนี้ในอดีตเป็นอย่างไร
ยิ่งลูกหนี้มีคะแนนเครดิตสกอริ่งสูง ๆ เช่น AA ย่อมขอสินเชื่อง่ายกว่าลูกหนี้ที่คะแนนเครดิตสกอริ่งต่ำ อย่าง HH ทำให้มีโอกาสได้รับการปล่อยสินเชื่อแบบไม่ต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันมูลค่าสูง เหมือนกับลูกหนี้ที่คะแนนเครดิตสกอริ่งต่ำกว่า
เช็คเครดิตบูโรได้ที่ไหนบ้าง
การเช็คเครดิตบูโร ทำได้ 2 ช่องทาง คือ 1. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรใกล้บ้านคุณ และ 2.เช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ซึ่งมีรายละเอียดของสถานที่แต่ละแห่ง และเอกสารที่คุณควรเตรียมพร้อมก่อนเดินทางไปเช็คเครดิตบูโรดังต่อไปนี้
บริการเช็คเครดิตบูโร ณ ที่ทำการบริษัท (ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร)
ห ากทราบไปแล้วว่าการเช็คเครดิตบูโร มีความสำคัญอย่างไร และควรตรวจเครดิตบูโรเมื่อไหร่ ถ้าสนใจเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเอง แต่ไม่ถนัดการตรวจสอบข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน เราได้รวบรวมสถานที่ทั้งเดินทางง่าย สะดวก ติดแนวรถไฟฟ้า มาให้คุณแล้วที่นี่
1. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์พระรามเก้าชั้น 2
รูปแบบการให้บริการเป็นประเภทศูนย์ตรวจ และตู้คีออส
- ที่ตั้ง
เลขที่ 33/4 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10130 อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระราม 9 ชั้น 2 โซนพลาซ่า
- วิธีการเดินทาง
ขึ้น MRT สายสีน้ำเงินลงสถานีพระราม 9 จากนั้นเดินประมาณ 100 เมตร ตัวอาคารอยู่หลังเซ็นทรัลพระราม 9 หรือรถโดยสารประจำทางสาย 73 ก.136,137, 158, 163, 172, 179, 185, 206, 514, 517, 528, 529
- เอกสารที่ต้องใช้
การเช็คเครดิตบูโรที่ศูนย์ตรวจดำเนินการได้ 2 รูปแบบ คือ 1.เจ้าของข้อมูลติดต่อด้วยตนเอง และ 2.เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- เจ้าของข้อมูลติดต่อด้วยตนเอง
- กรณีบุคคลธรรมดา
- ใช้บัตรประชาชนตัวจริง หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริง
- กรณีนิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน ลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจ ลงนามรับรองความถูกต้อง
- เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
- กรณีบุคคลธรรมดา
- หนังสือมอบอำนาจ โดยกรอกรายละเอียด และลงนามให้ครบถ้วน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ เซ็นสำเนาถูกต้อง พร้อมนำเอกสารตัวจริงมาแสดง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ เซ็นสำเนาถูกต้อง พร้อมนำเอกสารตัวจริงมาแสดง
- กรณีนิติบุคคล
- หนังสือมอบอำนาจนิติบุคคล โดยกรอกรายละเอียด และลงนามให้ครบถ้วน
- สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม้เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมตัวจริงมาแสดง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้รับมอบอำนาจ ลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมตัวจริงนำมาแสดง
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 - 16.30 หยุดวันนักขัตฤกษ์
- ระยะเวลาในการรอผล
ประมาณ 15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานรูปแบบเอกสาร หรือจัดส่งให้ตามที่อยู่ไปรษณีย์ หรือรับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report (กรณีเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองด้วยตนเองผ่านตู้คีออส)
2. เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3
ให้บริการในรูปแบบตู้คีออส
- ที่ตั้ง
เลขที่ 1177 ชั้น 3 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
- วิธีการเดินทาง
นั่ง BTS สายสีเขียว ลงสถานีอารีย์ ทางออก 1 จากนั้นเดินไปประมาณ 200 เมตร
- เอกสารที่ต้องใช้
- เจ้าของข้อมูลติดต่อด้วยตนเอง
บัตรประชาชนตัวจริง หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริง
- เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ - วันศุกร์ 09.00 - 18.00 น. (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
- ระยะเวลาในการรอผล
ประมาณ 15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานรูปแบบเอกสาร หรือจัดส่งให้ตามที่อยู่ไปรษณีย์ หรือรับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report (กรณีเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองด้วยตนเองผ่านตู้คีออส)
3. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง
รูปแบบการให้บริการเป็นประเภทศูนย์ตรวจ และตู้คีออส
- ที่ตั้ง
เลขที่ 201 ซอยสีลม 2/1 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
- วิธีการเดินทาง
นั่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ลงสถานี BTS ศาลาแดง ศูนย์ตรวจฯ ด้านใน BTS
- เอกสารที่ต้องใช้
- เจ้าของข้อมูลติดต่อด้วยตนเอง
บัตรประชาชนตัวจริง หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริง
- เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ - วันศุกร์ 09.00 - 18.00 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
- ระยะเวลาในการรอผล
ประมาณ 15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานรูปแบบเอกสาร หรือจัดส่งให้ตามที่อยู่ไปรษณีย์ หรือรับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report (กรณีเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองด้วยตนเองผ่านตู้คีออส)
4. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
รูปแบบการให้บริการเป็นประเภทศูนย์ตรวจ และตู้คีออส
- ที่ตั้ง
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ภายในสถานี) ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
- วิธีการเดินทาง
นั่งรถไฟฟ้าสายสีเขียว ลงสถานี BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศูนย์ตรวจฯ อยู่ภายใน BTS
- เอกสารที่ต้องใช้
- เจ้าของข้อมูลติดต่อด้วยตนเอง
บัตรประชาชนตัวจริง/หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริง
- เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- วันเวลาเปิด-ปิด
จันทร์-อาทิตย์ ไม่มีวันหยุด เวลา9.00-18.00 น.
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานรูปแบบเอกสาร หรือจัดส่งให้ตามที่อยู่ไปรษณีย์ หรือรับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report (กรณีเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองด้วยตนเองผ่านตู้คีออส)
5. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต
รูปแบบการให้บริการเป็นประเภทศูนย์ตรวจ และตู้คีออส
- ที่ตั้ง
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีหมอชิต (ภายในสถานี) แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
- วิธีการเดินทาง
นั่ง BTS สายสีเขียวลงสถานีหมอชิต ศูนย์ตรวจอยู่ภายในสถานี
- เอกสารที่ต้องใช้
- เจ้าของข้อมูลติดต่อด้วยตนเอง
บัตรประชาชนตัวจริง/หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริง
- เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์-อาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.00-18.00 น.
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานรูปแบบเอกสาร หรือจัดส่งให้ตามที่อยู่ไปรษณีย์ หรือรับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report (กรณีเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองด้วยตนเองผ่านตู้คีออส)
6. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร)
รูปแบบการให้บริการเป็นประเภทศูนย์ตรวจ และตู้คีออส
- ที่ตั้ง
เลขที่ 98/40 หมู่ 13 ห้างเจเวนิว (นวนคร) ชั้น 3 (ติดประกันสังคม) ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
- วิธีการเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว
- เอกสารที่ต้องใช้
- เจ้าของข้อมูลติดต่อด้วยตนเอง
บัตรประชาชนตัวจริง หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริง
- เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- ค่าใช้จ่าย
100 บาท
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 09.00 - 18.00 น.
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานรูปแบบเอกสาร หรือจัดส่งให้ตามที่อยู่ไปรษณีย์ หรือรับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report (กรณีเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองด้วยตนเองผ่านตู้คีออส)
7. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร-ท่าวังหลัง บริเวณทางเข้า-ออกท่าเรือ และใกล้ประตู 8 ของโรงพยาบาลศิริราช
รูปแบบการให้บริการเป็นประเภทศูนย์ตรวจ และตู้คีออส
- ที่ตั้ง
ท่าเรือพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
- วิธีการเดินทาง
หากโดยสารด้วยเรือ สามารถนั่งเรือด่วนข้ามฟากจากท่ามหาราช ท่าพระอาทิตย์ หรือท่าพระจันทร์มาลงที่ท่าเรือพรานนก แต่ถ้าโดยสารด้วยรถโดยสารประจำทาง แนะนำให้นั่งรถสาย 91,146,710 ลงหน้าโรงพยาบาลศิริราช จากนั้นเดินมาที่ท่าเรือพรานนกลงได้เลย
- เอกสารที่ต้องใช้
บัตรประชาชนตัวจริง
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 09.00 - 18.00 น.
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานรูปแบบเอกสาร หรือจัดส่งให้ตามที่อยู่ไปรษณีย์ หรือรับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report (กรณีเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองด้วยตนเองผ่านตู้คีออส)
8. สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ)
ให้บริการในรูปแบบตู้คีออส
- ที่ตั้ง
เลขที่ 10 ถนนกำแพงเพชร แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ด้านหลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้า 1 จุดติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี หรือนาฬิกาหน้าปัดหมายเลข ๙ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ)
- วิธีการเดินทาง
สามารถเดินทางได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
- นั่ง MRT ลงสถานีบางซื่อ จากนั้นเดินต่อประมาณ 200 เมตร
- รถประจำทางของขสมก. สาย 50,65 และ ปอ.97
- เอกสารที่ต้องใช้
- บัตรประชาชนตัวจริง
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 08.30 - 23.00 น.
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report
9. อาคารสาธรนครทาวเวอร์ ชั้น 1
ให้บริการในรูปแบบตู้คีออส
- ที่ตั้ง
เลขที่ 100 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 อาคารสาธรนครทาวเวอร์
- วิธีการเดินทาง
ลงสถานี BTS ช่องนนทรี ออกทางออก2
- เอกสารที่ต้องใช้
- บัตรประชาชนตัวจริง
- เบอร์โทรศัพท์มือถือของตนเอง
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ - วันเสาร์ 08.00 - 17.30 น.
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report
10. ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (อาคาร A) ชั้น 2
ให้บริการในรูปแบบตู้คีออส
- ที่ตั้ง
โถงต้อนรับชั้น 2 เยื้องจุดสอบถามศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ 273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา. เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
- วิธีการเดินทาง
นั่งรถโดยสารประจำทางสาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 43, 49, 53, 64, 65, 524
- เอกสารที่ต้องใช้
- บัตรประชาชนตัวจริง
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 08.00 - 20.00 น.
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานทางอีเมลรูปแบบ NCB e-credit Report
11. ยื่นผ่านเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ธนาคาร กรุงศรี (ทุกสาขา)
ให้บริการเช็คเครดิตบูโรในรูปแบบเคาน์เตอร์ธนาคาร
- ที่ตั้ง
เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีทุกสาขาทั่วประเทศ
- วิธีการเดินทาง
ธนาคารกรุงศรีภายในห้างสรรพสินค้า หรือใกล้บ้านคุณ
- เอกสารที่ต้องใช้
- กรณีบุคคลสัญชาติไทย
บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ที่แสดงเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
- กรณีบุคคลต่างด้าว
หนังสือเดินทาง/ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตัวจริง)
- วันเวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ - วันศุกร์ 08.30- 15.30 หรือเคาน์เตอร์ธนาคารในห้างสรรพสินค้าเปิดทุกวันเวลา 10.00 - 18.30 น.
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับรายงานในรูปแบบเอกสารตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้ทางไปรษณีย์ 7 วันทำการ
12. ใช้บัตร ATM ทำรายการผ่านหน้าจอของธนาคารที่รับเช็คเครดิตบูโร
เป็นรูปแบบการให้บริการแบบตรวจสอบด้วยตนเองผ่านตู้ ATM
- ที่ตั้ง
ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย และตู้ ATM ธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ
- วิธีการเดินทาง
ตู้ ATM ใกล้บ้าน
- เอกสารที่ต้องใช้
- บัตร ATM ธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์
- บัตรประจำตัวประชาชน
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- วันเวลาเปิด-ปิด
ตลอด 24 ชั่วโมง
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับเอกสารตามที่ได้ระบุไว้ตามที่อยู่จัดส่งทางไปรษณีย์ภายใน 7 วันทำการ
13. ยื่นที่ทำการไปรษณีย์ เฉพาะสาขาที่ให้บริการ
รูปแบบการให้บริการผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์
- ที่ตั้ง
ที่ทำการไปรษณีย์และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์สาขาที่ให้บริการ
- วิธีการเดินทาง
ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้บ้านคุณ
- เอกสารที่ต้องใช้
บัตรประชาชนตัวจริง
- วันเวลาเปิด-ปิด
ตามเวลาทำการของที่ทำการไปรษณีย์สาขานั้นๆ
- ระยะเวลาในการรอผลตรวจ
15 นาที
- รูปแบบผลของการเช็คเครดิตบูโร
รับเอกสารตามที่ได้ระบุไว้ตามที่อยู่จัดส่งทางไปรษณีย์ภายใน 7 วันทำการ
เช็คเครดิตบูโรออนไลน์
หากไม่สะดวกเดินทางไปเช็คเครดิตบูโรที่สำนักงาน หรือศูนย์ต่าง ๆ ก็สามารถเช็คบูโรด้วยตัวเองเช่นกัน ซึ่งเราได้นำแอปพลิเคชันที่ทั้งดาวน์โหลดง่าย เพื่อให้เช็คเครดิตบูโรได้ทุกที่ผ่านปลายนิ้วแล้ว ดังนี้
1. ยื่นคำร้องผ่านโมบายแอปพลิเคชันทางรัฐ
iOS : เวอร์ชัน 14.3 ขึ้นไป
Android : เวอร์ชัน 6.0 ขึ้นไป
- เอกสารที่ต้องใช้
- บัตรประจำตัวประชาชน
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- ค่าใช้จ่าย
ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
- ระยะเวลาในการรอผล
15 นาที
- รูปแบบของผลการเช็ค
ข้อมูลเครดิตอิเล็กทรอนิกส์ (E-credit Report)
2. ยื่นคำร้องผ่านโมบายแอปพลิเคชัน “Bureau OK” (แอป “บูโร โอเค”)
ดาวน์โหลดแอป “Bureau OK” (แอป “บูโร โอเค”) ลงทะเบียนได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง
iOS : เวอร์ชัน 14.3 ขึ้นไป
Android : เวอร์ชัน 6.0 ขึ้นไป
- เอกสารที่ต้องใช้
- บัตรประจำตัวประชาชน
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- ค่าใช้จ่าย
100 บาท
- ระยะเวลาในการรอผล
15 นาที
- รูปแบบของผลการเช็ค
ข้อมูลเครดิตอิเล็กทรอนิกส์ (E-credit Report)
3. ทำรายการผ่านเว็บไซต์ธนาคารออนไลน์ กรุงศรี
เข้าสู่เว็บไซต์ www.krungsri.com จากนั้น login ด้วย Username และ Password ที่ได้ลงทะเบียนเอาไว้
- เอกสารที่ต้องใช้
- บัตรประจำตัวประชาชน
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- ระยะเวลาในการรอผล
ภายใน 7 วัน
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงจะได้รับคำตอบกันว่าทำไมควรเช็คเครดิตบูโร และวิธีการเช็คเครดิตบูโรรูปแบบศูนย์ตรวจ พร้อมทั้งเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองทำอย่างไรกันบ้าง รู้แล้วก็อย่าลืมไปเช็คเครดิตบูโรกันได้เลยตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพทางการเงินที่ดีของทุกคน จะได้วางแผนการเงินเตรียมพร้อมการขอสินเชื่อได้อย่างถูกต้อง ไม่เสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ให้ประวัติการเงินเสียอีกด้วย
ซึ่งหากใครที่สนใจบัตรเครดิตที่มีสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุม สามารถรองรับได้ทุกไลฟ์สไตล์ มีโปรโมชันสุดคุ้มในร้านค้าและบริการ รวมถึงห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ก็สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของบัตรเครดิต ธนาคารกรุงศรีได้ที่ https://www.krungsricard.com/th/Product
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/where-to-check-credit-bureau/