สมัครบัตร
ผลิตภัณฑ์
โปรโมชั่น
UCHOOSE
คะแนนสะสม
ติดต่อเรา
th
th
สมัครบัตร
ผลิตภัณฑ์
โปรโมชั่น
เรื่องราวที่น่าสนใจ
แลกพอยต์
UCHOOSE
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสารและกิจกรรม
ประกาศบริษัท
เรื่องราวที่น่าสนใจ
คำถามและข้อสงสัย
ติดต่อเรา
นโยบายการรับของขวัญ
รายงานคุณภาพการให้บริการ
ธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
รวมโปรโมชันเพื่อความยั่งยืน
บทความเกี่ยวกับ ESG
ข่าวสารและกิจกรรม
สำหรับสมาชิก
บริการเอ็นดีไอดี (NDID หรือ National Digital ID)
คู่มือการอ่าน Billing statement
สิทธิพิเศษรายเดือน
ขอวงเงินชั่วคราวผ่านแอป UCHOOSE
ขั้นตอนการ SET PIN ผ่านแอป UCHOOSE
สมัครบัตรเสริม
มาตรการลดภาระดอกเบี้ยช่วยเหลือลูกค้า ระยะที่ 2
อื่นๆ
ประกาศรายชื่อผู้โชคดี
แผนผังเว็บไซต์
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เตือนภัยมิจฉาชีพ Call Center
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สยาม ทาคาชิมายะ
พูดคุยกับเราได้ที่
0 2646 3555
หน้าหลัก
เรื่องราวที่น่าสนใจ
4 โรคยอดฮิต ที่มนุษย์ออฟฟิศต้องระวัง
4 โรคยอดฮิต ที่มนุษย์ออฟฟิศต้องระวัง
4 โรคยอดฮิต ที่มนุษย์ออฟฟิศต้องระวัง
มนุษย์ออฟฟิศหลายคนอยู่ในช่วงวัยที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว ทำงานหนักอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผลงานออกมาดี อยากประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ยิ่งช่วงนี้ที่ Work From Home ด้วยแล้ว เส้นแบ่งเวลางานกับเวลาส่วนตัวแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ งานเยอะจนบางคนต้องทำงานเกินเวลากันอยู่บ่อยๆ มีเวลาพักผ่อนน้อย ประชุมกันทั้งวันจนกินอาหารไม่ตรงเวลา แถมยังต้องนั่งแช่นานๆ ไม่มีเวลาออกกำลังกายอีก สิ่งเหล่านี้เป็นตัวการที่ทำให้โรคต่างๆ เกิดขึ้นได้ง่ายๆ โดยที่ไม่รู้ตัวเลยนะ ซึ่งมนุษย์ออฟฟิศควรที่จะต้องระวัง
โรค
อะไรเป็นพิเศษบ้าง มาดูกันเลย
โรคนิ้วล็อก
โรคนิ้วล็อกถือได้ว่าเป็น
โรคยอดฮิตสำหรับมนุษย์ออฟฟิศ
เลยทีเดียว เพราะในแต่ละวันต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ทำให้ต้องเกร็งนิ้วอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ โดยจะมีอาการปวดที่โคนนิ้วมือ รู้สึกเจ็บเวลาโดนกด สะดุดเวลาเหยียดนิ้ว จนไปถึงนิ้วไม่สามารถเหยียดหรืองอได้ปกติเหมือนนิ้วโดนล็อกเอาไว้
ก่อนอื่นถ้าหากมีอาการนี้เกิดขึ้น ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานก่อน พักนิ้วยืดกล้ามเนื้อมือเป็นระยะ จับเม้าส์และคีย์บอร์ดให้ถูกวิธี ลดกิจกรรมการใช้นิ้วมือจนกว่าจะดีขึ้น หรือแช่มือในน้ำอุ่นพร้อมขยับมือในน้ำก็จะช่วยลดอาการฝืดได้ แต่ถ้าหากยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป
โรคเครียดลงกระเพาะ
ความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ออฟฟิศทุกคน แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ ปล่อยให้ก่อตัวเป็นความเครียดสะสม ก็อาจส่งผลต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะในระบบย่อยอาหาร ซึ่งถ้าหากความเครียดลงกระเพาะแล้วล่ะก็ ก็จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ มีอาการอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก ท้องเสีย ท้องผูก ปวด จุก แน่น เรอบ่อย ขับถ่ายออกมาเป็นเลือดหรือมีสีดำ และอาจทำให้โรคในระบบย่อยอาหารที่เป็นอยู่แล้วแย่ลงกว่าเดิมอีก
การรู้จักวิธีรับมือและวิธีจัดการความเครียด เป็นสิ่งง่ายๆ ที่จะช่วยให้อาการนี้ดีขึ้น ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเครียดเกินไป ก็อาจจะลองพักจากงานสักนิด เว้นวรรคไปทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย หรือพูดคุยคนรอบข้างเพื่อระบายความเครียดให้สบายใจขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยตนเอง การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็เป็นทางออกที่ดีเลยนะ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เข้าใจเลยนะ ว่าเวลาที่เรากำลังทำงานได้แบบลื่นไหล ไอเดียเจ๋งๆ พุ่งกระฉูด ก็ไม่อยากจะให้อะไรเข้ามาขัดจังหวะ แม้กระทั่งการลุกไปเข้าห้องน้ำ หลายคนจึงเลือกที่จะอั้นเอาไว้ก่อน ซึ่งถ้าหากทำแบบนี้เป็นประจำแล้วล่ะก็
โรค
กระเพาะปัสสาวะอักเสบถามหาแน่นอน เพราะจะทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี หรือบางคนที่รีบเข้าห้องน้ำรีบออกมา ไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกวิธี ก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อจากช่องคลอดและทวารหนักได้เช่นกัน โดยอาการของโรคนี้ก็จะมีตั้งแต่ การปัสสาวะบ่อยแต่ครั้งละน้อยๆ กะปริบกะปรอย ปัสสาวะแสบขัด และอาจมีปัสสาวะปนเลือด
ถ้าไม่อยากเป็นโรคนี้ ทางที่ดีถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรอั้นปัสสาวะเด็ดขาด และควรดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกวิธี ด้วยการเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อลดโอกาสติดเชื้อ อีกทั้งยังควรดื่มน้ำมากๆ อย่าไปคิดว่ายิ่งดื่มน้ำยิ่งทำให้ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ เพราะการปัสสาวะนี่แหละจะช่วยขับเชื้อโรคให้สุขภาพร่างกายเราดีขึ้น แต่ถ้าใครเป็นโรคนี้แล้ว ก็ควรพบแพทย์เพื่อรับรักษาโดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ
ออฟฟิศซินโดรม
โรคยอดฮิตที่มนุษย์ออฟฟิศเป็นกันเยอะมากๆ เกิดจากการที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานและต่อเนื่อง หรืออาจเกิดจากการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม ก้มคอมากเกินไป ห่อไหล่ โต๊ะเก้าอี้ทำงานสูงหรือต่ำเกินไปจนไม่พอดีกับร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยหรือชาที่หลัง แขน ขา ข้อมือ คอ บ่า ไหล่
ซึ่งเราสามารถห่างไกลจาก
โรค
หรือลดอาการปวดได้นะ แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน โดยการนั่งให้ถูกท่า จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม อย่าอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายบ้าง แต่ถ้าใครรู้สึกปวดมากๆ ก็อย่าปล่อยไว้เรื้อรัง ลองปรึกษาแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม หรือรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ดูนะ
มนุษย์ออฟฟิศใช้ร่างกายทำงานหนักหาเงินทุกวัน แต่ก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี อย่าปล่อยให้สุขภาพร่างกายแย่โดยไม่รู้ตัวนะ เพราะไม่อย่างนั้นแทนที่จะได้นำเงินที่หามาได้ไปใช้จ่ายตามแพลนที่วางไว้ อาจจะต้องนำมาจ่ายค่ารักษาก้อนโต แต่สำหรับลูกค้า
บัตรเครดิต กรุงศรี
ไม่ต้องกังวลใจเลย เข้ารับการรักษาที่
โรงพยาบาล
ชั้นนำได้แบบสุดคุ้ม กับโปรโมชันสุดพิเศษ ‘’แลกรับเครดิตเงินคืน 13%*" เมื่อมียอดใช้จ่าย ณ
โรงพยาบาล
ทั่วประเทศ (ยกเว้น โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์) ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64
ใครยังไม่มีบัตรฯ อยากชวนให้มีติดกระเป๋าไว้สักใบสองใบ เพื่อช่วยแบ่งเบาเรื่องค่ารักษาพยาบาล
สมัครบัตรเครดิต กรุงศรี
ที่นี่
ขอบคุณที่มาจาก:
bit.ly/33aQTDD
,
bit.ly/3tj4nb4
,
bit.ly/3ueAave
,
bit.ly/3xFubl8
,
bit.ly/2QHdTrr
,
bit.ly/2QU86P7
,
bit.ly/2Rlx1Lo
,
bit.ly/33d4mL6
×
<button type="button" class="close d-none" data-dismiss="modal" aria-label="Close"><span aria-hidden="true">×</span></button>
×
คุกกี้
การตั้งค่าคุกกี้
×
การตั้งค่าคุกกี้
คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์
Always Active
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำหน้าเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งานล่าสุด การสำรวจหน้าเว็บไซต์ การจดจำรหัสของผู้เข้าใช้งาน หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ การจัดเก็บคุกกี้ประเภทนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณเพราะคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของคุณได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำการตั้งค่าภาษา ภูมิภาค ขนาดตัวอักษรของคุณในการใช้งานเว็บไซต์ นับจำนวนและแหล่งที่มาของผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์ เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บไซต์อย่างไร และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนของคุณอย่างไม่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถพัฒนาและมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ไม่ทราบได้ว่าคุณเคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อใดและไม่สามารถติดตามประสิทธิภาพการประมวลผลของหน้าเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
คุกกี้ประเภทนี้จะทำให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองตามความพึงพอใจของคุณ โดยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น สามารถจดจำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้สำหรับคุณในครั้งถัดไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้ และวัดประสิทธิผลของโฆษณาของเรา คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งไว้โดยธนาคารหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ การให้บริการบางอย่างของเว็บไซต์อาจไม่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
คุกกี้เพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทนี้จะจดจำการตั้งค่าของคุณในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ และนำไปปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะกับคุณมากที่สุด ตัวอย่างเช่น การจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ และลิงก์ที่คุณเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอโฆษณาที่มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของคุณมากขึ้น การป้องกันหรือจำกัดจำนวนครั้งที่คุณจะเห็นหน้าเว็บไซต์ของโฆษณาซ้ำ คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งโดยพันธมิตรทางการตลาดผ่านทางเว็บไซต์ของธนาคาร อาจมีการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้แก่บุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์เหล่านี้ด้วย หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ คุณจะได้รับการโฆษณาที่เฉพาะเจาะจงน้อยลง
คุกกี้สำหรับสื่อสังคมออนไลน์
คุกกี้ประเภทนี้สำหรับฟังก์ชั่นการกดไลค์ แชร์ หรือสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
×
คุณยืนยันลบข้อมูลการเก็บคุกกี้ของเว็บไซด์ของธนาคาร ซึ่งไม่รวมถึงการจัดเก็บของบุคคลที่สาม เช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer, Safari ฯลฯ ที่คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง