พูดคุยกับเราได้ที่

0 2646 3555

คู่มือเลือกประกัน OPD ฉบับมือใหม่ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน

ประกัน OPD คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง ควรเลือกแบบไหนถึงคุ้มค่า
 
   

 
OPD คือ การรักษาพยาบาลที่ไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล
OPD คือ การรักษาพยาบาลที่ไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล
 
สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือการพักผ่อนให้เพียงพอ และเมื่อเกิดอาการไม่สบาย การไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรากลับมาแข็งแรงได้อย่างเร็วขึ้น

แต่การเข้าพบแพทย์แต่ละครั้ง ย่อมมีค่าใช้จ่ายจากการเข้ารับบริการแบบผู้ป่วยนอก (OPD) เช่น ค่าตรวจวินิจฉัย ค่ายา และค่าแพทย์ ก็อาจสะสมจนกลายเป็นภาระที่ไม่คาดคิด ดังนั้น ประกัน OPD จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเมื่อต้องพบแพทย์ได้เป็นอย่างดี

หากคุณอยากรู้ว่า OPD คืออะไร ? ประกัน OPD คุ้มครองอะไรบ้าง ? และควรเลือกแผนแบบไหนให้คุ้มค่าที่สุด บทความนี้มีคำตอบ
 


OPD คืออะไร ต่างจาก IPD อย่างไร ?

OPD ย่อมาจาก Out Patient Department หรือที่เรียกว่า “ผู้ป่วยนอก” คือ การรักษาพยาบาลที่ไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล เช่น การพบแพทย์ทั่วไป การตรวจรักษาโรค การทำหัตถการ และการรับยา ที่สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียว


ความแตกต่างระหว่าง OPD และ IPD มีดังนี้


OPD (Outpatient Department)

  • ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์และรับยาได้ โดยไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล
  • เหมาะสำหรับอาการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น ไข้หวัด ปวดศีรษะ หรืออาการที่ไม่รุนแรง
  • ใช้เวลาไม่นาน หลังจากรับการรักษาสามารถกลับบ้านได้ทันที
  • เบี้ยประกันถูกกว่า IPD
 

IPD (Inpatient Department)

  • ผู้ป่วยต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 ชั่วโมงขึ้นไป
  • เหมาะสำหรับอาการรุนแรงหรือโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น การผ่าตัด อุบัติเหตุหนัก หรือโรคร้ายแรง
  • ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และพยาบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังอาการ
  • เบี้ยประกันค่อนข้างสูง เนื่องจากครอบคลุมค่าห้องพักและค่าดูแล
 
 

ประกันผู้ป่วยนอก OPD คืออะไร ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายอย่างไร ?

ประกัน OPD คือ ประกันสุขภาพประเภทหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก โดยผู้เอาประกันไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายเอง หรือสามารถเบิกคืนได้ตามวงเงินที่กำหนดในกรมธรรม์


ประกัน OPD มักครอบคลุมค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ค่าปรึกษาแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทาง
  • ค่าตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ เช่น ตรวจเลือด เอกซเรย์ หรืออัลตราซาวนด์
  • ค่ายาและเวชภัณฑ์ที่ได้รับจากแพทย์
  • ค่ากายภาพบำบัดในบางกรณี


ประกัน OPD เหมาะกับใคร ?

  • ผู้ที่ต้องพบแพทย์บ่อยครั้ง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือจำเป็นต้องติดตามอาการต่อเนื่อง
  • ผู้ที่ต้องการลดภาระค่ารักษา โดยเฉพาะเมื่อเข้ารับบริการในโรงพยาบาลเอกชน
  • ผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายในการรักษาโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินก้อนใหญ่
การมีประกัน OPD จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องพบแพทย์เป็นประจำ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องรับการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของความคุ้มครองอาจแตกต่างกันไปตามแผนประกันและเงื่อนไขของแต่ละบริษัท จึงควรตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนเลือกทำประกัน OPD เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่ามากที่สุด
 
 
ผู้ป่วยหญิงกำลังให้ข้อมูลเรื่องประกัน OPD กับพยาบาล
ผู้ป่วยหญิงกำลังให้ข้อมูลเรื่องประกัน OPD กับพยาบาล
 


เลือกประกัน OPD ต้องพิจารณาอย่างไร ?

การเลือกประกัน OPD ที่เหมาะสมกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของคุณ มีปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาดังนี้


วงเงินคุ้มครอง

  • ตรวจสอบวงเงินคุ้มครองต่อครั้ง : พิจารณาว่าวงเงินแต่ละครั้งที่เข้ารับการรักษาเพียงพอหรือไม่ โดยเฉลี่ยค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลเอกชนอาจสูงถึง 1,500-3,000 บาทต่อครั้ง
  • วงเงินคุ้มครองรวมต่อปี : ตรวจสอบว่าวงเงินรวมตลอดทั้งปีเพียงพอกับความถี่ในการพบแพทย์หรือไม่
  • เปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันกับวงเงิน : วิเคราะห์ความคุ้มค่าระหว่างค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายกับวงเงินคุ้มครองที่จะได้รับ


โรงพยาบาลและคลินิกที่เข้าร่วม

  • เครือข่ายโรงพยาบาล : ตรวจสอบว่าแผนประกันครอบคลุมโรงพยาบาลหรือคลินิกที่สะดวกต่อการเข้ารับบริการ เช่น ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน รวมถึงมีโรงพยาบาลชั้นนำที่มีแพทย์เฉพาะทางที่คุณต้องการอยู่ในเครือข่ายหรือไม่
  • ระบบการเคลม : พิจารณาว่าสามารถใช้บริการแบบไม่ต้องสำรองจ่าย (Cashless) ได้หรือไม่ หรือต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วนำใบเสร็จมาเบิกคืนภายหลัง


การใช้ร่วมกับประกันสุขภาพหลักและสวัสดิการอื่น

  • ประกันสุขภาพหลัก : หากมีประกันสุขภาพที่คุ้มครอง IPD อยู่แล้ว ควรเลือกแผน OPD ที่เสริมความคุ้มครองให้ครบถ้วน
  • การใช้ร่วมกับสวัสดิการอื่น : ตรวจสอบว่าสามารถใช้ร่วมกับสวัสดิการบริษัทหรือประกันสังคมได้หรือไม่ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองสูงสุด


ข้อจำกัดและเงื่อนไข

  • ระยะเวลารอคอย : บางแผนประกันอาจมีระยะเวลารอคอย (Waiting Period) ก่อนสามารถใช้สิทธิ OPD ได้ โดยทั่วไปอาจเป็น 30-90 วันหลังจากทำประกัน
  • โรคที่ไม่คุ้มครอง : ตรวจสอบข้อยกเว้นความคุ้มครอง โดยเฉพาะโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน (Pre-existing Conditions)
 


สิทธิพิเศษเมื่อชำระเบี้ยประกันด้วยบัตรเครดิต กรุงศรี

สำหรับผู้ที่ต้องการทำประกัน OPD สามารถเพิ่มความคุ้มค่าได้ด้วยโปรบัตรเครดิต กรุงศรี ในการชำระเบี้ยประกัน ซึ่งมาพร้อมสิทธิพิเศษ รูดรับคุ้ม ครอบคลุมเรื่องประกัน
รับเครดิตเงินืนไปเลยเมื่อชำระเบี้ยประกันทุกประเภทแบบเต็มจำนวน ทั้งปีแรกและปีต่ออายุ รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 20,000 บาท* โดยไม่ต้องแลกคะแนน
 
 
การเลือกประกัน OPD ที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่ต้องพบแพทย์ ดังนั้น การมีประกัน OPD จึงเป็นการลงทุนเพื่อสุขภาพที่คุ้มค่าในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อเลือกใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่มาพร้อมโปรโมชันบัตรเครดิตจ่ายเบี้ยประกัน จะยิ่งช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครอง รับการรักษา ที่มาพร้อมความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
 
หมายเหตุ
* เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
* ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ยสูงสุด 16% ต่อปี
 
ข้อมูลอ้างอิง:
ดูแลสุขภาพอย่างไรให้สมดุล. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 จาก https://www.matichonweekly.com/publicize/article_771240



บัตรเครดิต กรุงศรี วีซ่า แพลทินัม