ทองคำ ถือเป็นหนึ่งในโลหะมีค่าที่มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจ การลงทุน และอุตสาหกรรมเครื่องประดับมานานนับพันปี แต่หลายคนอาจยังมีข้อสงสัยว่าทองคํามีกี่ประเภท รวมถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิด ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปเจาะลึก 5 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับทองคำ พร้อมคำตอบที่ช่วยให้คุณเข้าใจมากขึ้น
1. ทองคำมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ?
หนึ่งในคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับทองคำที่คนสงสัยมากที่สุดคือ ‘ทองมีกี่ประเภท’ คำตอบคือทองคำสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามวัตถุประสงค์การใช้งาน โดยประเภทหลักๆ ที่พบบ่อย ได้แก่
- ทองคำแท่ง (Gold Bullion) – ทองคำที่ผ่านการหลอมและขึ้นรูปเป็นแท่ง ไม่มีการตกแต่งหรือประดับอัญมณี นิยมใช้สำหรับการลงทุน เพราะไม่มีค่ากำเหน็จ ราคาซื้อขายอิงตามราคาทองคำในตลาดโลก
- ทองรูปพรรณ (Gold Jewelry) – ทองคำที่นำมาผลิตเป็นเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ กำไล โดยมักมีค่ากำเหน็จเพิ่มเติมจากราคาทองคำแท่ง ทองรูปพรรณเป็นที่นิยมในประเทศไทยทั้งในด้านการสวมใส่และการลงทุนระยะยาว
- ทองคำขาว (White Gold) – โลหะผสมที่ประกอบด้วยทองคำและโลหะอื่นๆ เช่น แพลเลเดียม นิกเกิล หรือเงิน มีสีขาวและมักใช้ทำเครื่องประดับที่ต้องการความแข็งแรงและความเงางาม ราคาทองคำขาวอาจแตกต่างจากทองคำแท่งและทองรูปพรรณตามองค์ประกอบของโลหะที่ผสมอยู่
- ทองคำเปลว (Gold Leaf) – เป็นทองคำที่ถูกตีให้บางจนสามารถนำมาใช้ตกแต่งงานศิลปะ สถาปัตยกรรม หรือเครื่องรางของขลัง มักพบในงานพุทธศิลป์ เช่น การปิดทองพระพุทธรูป
2. ความบริสุทธิ์ของทองคำวัดอย่างไร ?
นอกจากประเด็นทองมีกี่แบบแล้ว ความบริสุทธิ์ก็สำคัญเช่นกัน โดยความบริสุทธิ์ของทองคำสามารถวัดได้หลายวิธี แต่มาตรฐานที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ การวัดเป็นเปอร์เซ็นต์และกะรัต (Karat: K) โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ทองคำบริสุทธิ์ 99.99% หรือ 24K เป็นทองคำแท้ที่แทบไม่มีส่วนผสมของโลหะอื่น ๆ
- ทองคำที่นิยมซื้อขายในประเทศไทยคือ ทองคำ 96.5% (ประมาณ 23K) เนื่องจากมีความแข็งแรงกว่าทองคำบริสุทธิ์และเหมาะสำหรับการทำเครื่องประดับ
- ในต่างประเทศ อาจพบทองคำ 18K (75% ทองคำ) หรือ 14K (58.5% ทองคำ) ซึ่งมักใช้ทำเครื่องประดับที่ต้องการความทนทานมากขึ้น
3. น้ำหนักทองคำคำนวณอย่างไร ?
ในประเทศไทย เราใช้หน่วยวัดน้ำหนักทองคำเป็น
บาท และ
สลึง ซึ่งมีค่าดังนี้
- 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม หรือ 4 สลึง
- 1 สลึง เท่ากับ 3.811 กรัม
การเข้าใจหน่วยวัดเหล่านี้จะช่วยให้สามารถคำนวณมูลค่าทองคำได้อย่างถูกต้อง และเปรียบเทียบราคาซื้อขายได้แม่นยำมากขึ้น
4. ทองคำราคาเปลี่ยนแปลงทุกวันเพราะอะไร ?
ราคาทองคำมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงทุกวัน เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา – ค่าเงินบาทที่แข็งค่าหรืออ่อนค่า มีผลต่อราคาทองคำในประเทศ
- อัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ย – เมื่อเงินเฟ้อสูง นักลงทุนมักหันมาถือครองทองคำเพื่อรักษามูลค่าของเงิน
- อุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก – ความต้องการทองคำจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับและการลงทุนมีผลโดยตรงต่อราคา
- นโยบายธนาคารกลาง – การบริหารเงินสำรองของธนาคารกลางทั่วโลกมีผลต่อราคาทองคำ เช่น การซื้อ-ขายทองคำเพื่อปรับสมดุลเงินสำรอง
5. การลงทุนในทองคำมีข้อดีอย่างไร ?
ทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและมีประโยชน์ต่อพอร์ตการลงทุนในหลายแง่มุม ได้แก่
- เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Asset) – มูลค่าของทองคำมักเพิ่มขึ้นเมื่อเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน เช่น ในช่วงที่ตลาดหุ้นตกต่ำ หรือเกิดภาวะเงินเฟ้อ
- มีสภาพคล่องสูง – ทองคำสามารถซื้อขายได้ง่ายในตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะทองคำแท่งที่มีมาตรฐาน
- ป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน – ทองคำช่วยรักษามูลค่าเงินลงทุนในระยะยาว เมื่อสกุลเงินหลักมีความผันผวน
- เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยง – การถือทองคำร่วมกับสินทรัพย์อื่น เช่น หุ้นและพันธบัตร ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน
บัตรเครดิต กรุงศรี ผ่อนทองรูปพรรณได้ ช่วยให้ชีวิตสะดวกกว่าที่เคย
ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญทั้งในแง่ของการลงทุนและการใช้งานในชีวิตประจำวัน การเข้าใจประเภทของทองคำ ความบริสุทธิ์ หน่วยวัดน้ำหนัก ปัจจัยที่มีผลต่อราคา และข้อดีของการลงทุนในทองคำ จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจซื้อขายทองคำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อได้ทราบแล้วว่าทองคํามีกี่ประเภท ดังนั้น สำหรับใครที่สนใจอยากซื้อทองคำไม่ว่าจะเพราะต้องการลงทุนหรือในฐานะเครื่องประดับ และกำลังมองหาทางเลือกในการซื้อทองรูปพรรณโดยไม่ต้องจ่ายเงินก้อนหรือเต็มจำนวนในครั้งเดียว ตอนนี้คุณสามารถผ่อนทอง 0% นาน 10 เดือน กับห้างทองเยาวราชกรุงเทพ ได้ง่าย ๆ โดยไม่มีค่ารูดบัตร เพียงชำระงวดแรกที่สาขา และผ่อนทองต่อผ่านบัตรเครดิต กรุงศรี ใน 9 งวดที่เหลือ เฉพาะทองคำแท้ 96.5% ในรูปแบบทองรูปพรรณน้ำหนักไม่เกิน 2 สลึง ไม่ว่าจะเป็นทอง 2 สลึง, 1 สลึง หรือครึ่งสลึง โดยพร้อมตอบทุกข้อสงสัยว่า
บัตรเครดิตผ่อนทองได้ไหม โอกาสดีๆ แบบนี้มีทั้งปีเลย
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
*ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ยสูงสุด 16% ต่อปี
