เพราะอนาคตไม่มีอะไรที่แน่นอน เราจึงไม่สามารถควบคุมทุก ๆ สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการทำประกันสุขภาพและการทำประกันชีวิต ถือเป็นตัวช่วยในการรองรับค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ครอบคลุมถึงการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพ ร่างกายและชีวิต เป็นหลักประกันให้กับตัวเองและครอบครัว
อีกทั้งยังเป็นทางเลือกที่ช่วยด้านการวางแผนทางการเงินได้ เพราะประกันสุขภาพและประกันชีวิตสามารถนำมาหัก
ลดหย่อนภาษีในแต่ละปีได้ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม แต่ประกันสุขภาพและประกันชีวิตประเภทไหนสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ และได้ที่จำนวนเงินเท่าไหร่ เราจะซื้อต้องแบบไหนถึงจะลดหย่อนได้ที่สูงสุด วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน
ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร
ก่อนจะรู้จักกับประกันลดหย่อนภาษี ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีก่อน โดยค่าลดหย่อนภาษีคือสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งตามกฎหมายประมวลรัษฎากรที่ช่วยทำให้เราเสียภาษีน้อยลง
โดยภาครัฐต้องการจะสนับสนุนประชาชนเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมบางอย่าง โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ปี ดังนั้นประชาชนผู้เสียภาษีต้องคอยติดตามเงื่อนไขเป็นประจำ เพื่อวางแผนลดหย่อนภาษีให้ได้อย่างเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด
เพื่อสรุปเป็นเงินสุทธิ ซึ่งเงินสุทธิที่ทำการหักมาเรียบร้อยแล้วนั้น จะนำมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณจ่ายภาษีได้น้อยลง หรือช่วยให้คุณได้รับเงินคืนภาษีได้ โดย สามารถคำนวณค่าลดหย่อนภาษี ได้ดังนี้
- รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ
- เงินได้สิทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
เบี้ยประกันลดหย่อนภาษีได้จริงหรือไม่
เบี้ยประกันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จริงตามที่กฎหมายกำหนด โดยอัตราค่าลดหย่อนภาษีนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของประกัน และค่าเบี้ยประกันที่เราจ่ายตามจริงในแต่ละปีตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด
ประเภทของประกันและการลดหย่อนภาษี
ประเภทของประกันโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
1. ประกันชีวิตทั่วไป
ประกันชีวิตทั่วไปเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิต ที่ทำไว้เพื่อรับเงินหรือความคุ้มครองจากการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และยังเป็นหนึ่งในประกันลดหย่อนภาษี ซึ่งประกันชีวิตทั่วไปจะมี 4 รูปแบบ ดังนี้
• ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)
ประกันชีวิตประเภทนี้เป็นประกันที่เน้นให้ความคุ้มครองเราในระยะยาว หรือจนกว่าจะอายุครบ 90 ปีขึ้นไป ข้อดีของประกันลดหย่อนภาษีชนิดนี้คือ จะมีการบังคับต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 5 - 20 ปีขึ้นไป แต่จะได้รับความคุ้มครองตลอดชีพ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความมั่นคงในชีวิต และเผื่อกรณีฉุกเฉินเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น ก็จะทำให้มีเงินออมเป็นหลักประกันให้กับคนข้างหลัง
• ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)
ประกันชีวิตประเภทนี้เป็นประกันที่ให้คุ้มครองในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ขึ้นอยู่กับแบบประกันที่บริษัทประกันกำหนด ข้อดีของประกันลดหย่อนภาษีชนิดนี้คือ เบี้ยประกันถูกกว่าเบี้ยประกันชีวิตแบบอื่น ๆ เพราะไม่มีเบี้ยประกันสะสม ทำให้เมื่อครบสัญญาจะไม่มีเงินคืนให้เหมือนประกันชีวิตประเภทอื่น ๆ
และประกันชีวิตลดหย่อนภาษีประเภทนี้จะได้ทุนประกันสูงกว่าเมื่อเทียบกับแบบประกันชีวิตชนิดอื่นในกรณีที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันเท่ากัน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการคุ้มครองชีวิตสูงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
• ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment)
ประกันชีวิตประเภทนี้จะมุ่งเน้นเรื่องการออมเงินเป็นหลัก โดยได้รับผลตอบแทนตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้ ชึ่งมีทั้งแบบสั้นที่ระยะเวลา 3-5 ปี ไปจนถึงระยะยาว 25 ปีขึ้นไป ข้อดีของประกันลดหย่อนภาษีชนิดนี้คือช่วยสร้างวินัยการออมให้กับเรา จะมีให้เลือกทั้งแบบได้เงินคืนระหว่างอายุสัญญาและแบบได้เงินคืนเป็นก้อนเมื่อครบสัญญา
แต่ประกันลดหย่อนภาษีประเภทนี้จะได้ความคุ้มครองค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประกันชีวิตลดหย่อนภาษีประเภทอื่น ๆ จึงเหมาะสำหรับคนที่กำลังมองหาทางเลือกในการเก็บเงิน
• ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ Investment Linked Life Insurance
ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือเรียกอีกอย่างว่าประกันแบบยูนิตลิงก์ (Unit Linked) เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ที่จะได้ทั้งความคุ้มครองชีวิต และโอกาสในการลงทุนพร้อมกันในกรมธรรม์ฉบับเดียว จุดเด่นของประกันชีวิตควบการลงทุนคือ สามารถกำหนดระยะเวลาชำระเบี้ย ระยะเวลาการคุ้มครอง และปรับเพิ่มลดทุนประกันชีวิตได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมในแต่ละช่วงชีวิต
โดยสามารถเลือกถอนเงินจากเงินลงทุนในกรมธรรม์ได้เอง ไม่จำเป็นต้องกู้เงินในกรมธรรม์หรือปิดกรมธรรม์ และประกันชีวิตลดหย่อนภาษีประเภทนี้ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าประชีวิตแบบอื่น ๆ เพราะสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ แต่ประกันชีวิตควบการลงทุนจะไม่การันตีผลตอบแทน ทำให้มีโอกาสไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ จึงเป็นประกันชีวิตที่เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงสูงได้
สำหรับหมวดหมู่ประกันชีวิตทั่วไปนั้นเป็นประกันลดหย่อนภาษีที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โดยมีเงื่อนไขว่าต้องซื้อกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปผ่านบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และไม่มีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปีเท่านั้น
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นประกันชีวิตลดหย่อนภาษีนั้นสามารถลดหย่อนได้เท่าไหร่ จะขึ้นอยู่กับเบี้ยประกันสุขภาพตัวเองที่เรานำมาลดหย่อนภาษีด้วย โดยกฎหมายกำหนดไว้ว่าเมื่อนำ
เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป รวมกับประกันสุขภาพตัวเองมาแล้ว จะลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บาท
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีประเภทนี้เป็นการทำประกันชีวิตในระยะยาวโดยมุ่งเน้นการออมเงินคล้ายกับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ โดยเราต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตให้ครบตามระยะเวลาที่ทำ ถือเป็นการออมเงินอย่างต่อเนื่องจนถึงเกษียณอายุ และจะได้รับเงินคืนในรูปแบบของเงินบำนาญ
ซึ่งประกันชีวิตแบบบำนาญก็เป็นอีกหนึ่งประกันลดหย่อนภาษีที่เราสามารถนำ
ประกันชีวิตแบบบำนาญไปลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อนำไปรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ RMF จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
3. ประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพเป็นประกันที่ทำไว้สำหรับคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ที่มีสิทธิในกรมธรรม์เกิดการเจ็บป่วยเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บรวมไปถึงโรคร้ายแรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่บริษัทประกันกำหนด ซึ่งประกันสุขภาพก็ยังเป็นประกันลดหย่อนภาษีด้วย
สามารถแบ่งประเภทของประกันสุขภาพเป็น 4 แบบ อันได้แก่ ประสุขภาพตัวเอง ประกันสุขภาพพ่อแม่ ประกันสุขภาพคู่สมรส และประกันสุขภาพลูก
• ประกันสุขภาพตัวเอง
ประกันสุขภาพตัวเอง คือ ประกันที่คุ้มครองตนเองจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมไปถึงโรคร้ายแรงต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่บริษัทประกันกำหนด
โดยเราสามารถนำ
เบี้ยของประกันสุขภาพไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท แต่เบี้ยที่ร่วมกับประกันชีวิตแบบทั่วไป จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
• ประกันสุขภาพพ่อแม่
ประกันสุขภาพพ่อแม่ คือ ประกันสำหรับคุ้มครองพ่อแม่จากการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หรือโรคร้ายแรง ตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันกำหนด
โดยสามารถนำ
เบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายไปมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดปีละไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และพ่อแม่หรือเราอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 180 วัน ถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
• ประกันสุขภาพคู่สมรส
กรณีคู่สมรสมีประกันชีวิต หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้ สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรส อ้างอิงหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
• ประกันสุขภาพลูก
เบี้ยประกันชีวิตของบุตร ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ สำหรับคนที่มีลูก แต่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อน ได้เฉพาะส่วนของค่าใช้จ่ายของบุตรตามที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้นโดยหักค่าใช้จ่ายได้คนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวน
เทคนิคประกันแบบไหนได้ลดหย่อนภาษีดีที่สุด?
จากที่กล่าวมาข้างต้น เราได้รู้จักประเภทของประกันและข้อกำหนดของประกันลดหย่อนภาษีแต่ละประเภทว่ามีเพดานลดหย่อนภาษีเท่าไหร่ มาดูกันว่า แล้วเทคนิคประกันแบบไหนได้ลดหย่อนภาษีคุ้มค่าที่สุด ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย
ภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นจะขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิของเราในแต่ละปีหลังหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีวิธีคำนวณภาษีทั้งหมด 2 วิธี ได้แก่วิธีคิดภาษีแบบขั้นบันได และวิธีคิดภาษีแบบเหมา (ในกรณีที่เรามีรายได้ประเภทอื่นนอกเหนือจากเงินเดือนหรือเงินได้ประเภท 1) เพื่อให้ได้รายได้สุทธิตามจริง
2. ทำ Checklist สิทธิ์ลดหย่อนภาษี
หลังจากที่เราคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแล้วสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้คือ เราสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีประเภทไหนบ้างตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแต่ละบุคคล
3. เลือกซื้อประกันที่ตอบโจทย์
การเลือกซื้อประกันลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับเรานั้น จะขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การวางแผนทางการเงินในอนาตต ความต้องการของแต่ละบุคคล รวมถึงเพดานภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี
ซึ่งเราสามารถเช็กข้อกำหนด สิทธิประโยชน์ และผลตอบแทนต่าง ๆ ของประกันนั้น ๆ ได้จากบริษัทประกันชั้นนำในประเทศไทยเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาถึงค่าลดหย่อนที่จะได้รับ ควบคู่ไปกับความคุ้มครองที่เหมาะสม
แหล่งที่มาข้อมูล
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าประกันสุขภาพและประกันชีวิตนั้น เป็นเรื่องสำคัญเมื่อเราวางแผนทางการเงินให้กับตัวเองและคนที่เราห่วงใย เพราะนอกจากผลตอบแทนที่ได้รับตามกรมธรรม์แล้ว ยังสามารถนำมาช่วยแบ่งเบาภาระโดยนำไปลดหย่อนภาษีได้ จึงเป็นทางเลือกที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับใครที่กำลังวางซื้อประกันลดหย่อนภาษีหรือแผนลดหย่อนภาษี ประจำปี พ.ศ. 2566 และเลือกประกันประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตได้แล้ว สามารถเข้าไปดูสิทธิพิเศษเพื่อจ่ายเบี้ยประกันและซื้อกองทุนผ่าน
บัตรเครดิต กรุงศรี เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่
https://www.krungsricard.com/th/Promotion/Category/Insurance-FinancialService
แหล่งที่มาข้อมูล